

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน กปร. - คู่มือตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านท่าเรือ
ความเป็นมาของการดำเนินโครงการ
วัฒนธรรมล้ำค่า ภาษาเฉพาะ ไพเราะเสียงดนตรี”
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอประมาณ
คนในชุมชนรู้จักและภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง ดำรงวิถีชีวิตบนพื้นฐานวัฒนธรรมไท-อีสาน จึงทำให้มีรากฐานที่แข็งแรง คนไม่อพยพย้ายถิ่นฐานไปทำงานนอกชุมชน เพราะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามอัตภาพ ประกอบกับมีความเชื่อ ทัศนคติ และวัฒนธรรม ประเพณี ทำให้คนในชุมชนมีค่านิยมรักบ้านเกิด และร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ความมีเหตุผล
ชาวบ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาหลายรุ่นด้านการทอผ้าไหม และการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้แก่ แคนและโหวด รวมถึงองค์ความรู้ท้องถิ่นอื่นๆ เช่น หมอเป่าต่อกระดูก ผู้นำทางศาสนา หมอดูฤกษ์ดูยาม หมอสูตรขวัญ ทำขวัญ ดูแลศาลเจ้าปู่ประจำหมู่บ้าน และการทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น แห ข้อง ไซ และลอบ เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนในชุมชน และรู้จักนำมาปรับใช้พัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยมีการจัดทำแผนชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนาและจัดกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี สร้างประโยชน์สาธารณะ สร้างสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการต่างๆ ให้แก่คนในชุมชน
3. ความมีภูมิคุ้มกัน
ในระดับครัวเรือน มีการส่งเสริมการเก็บออมและทำบัญชีครัวเรือน ในระดับชุมชนมีความสมานสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ชาวไท-อีสาน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่ช่วยพยุงชุมชนให้เข้มแข็ง รวมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กลุ่มปลูกไผ่ ลูกแคนท่าเรือ กลุ่มอนุรักษ์ป่าดอนปู่ตา เป็นต้น มีภูมิคุ้มกันด้านทรัพยากรโดยผสมผสานการรักษาป่าชุมชนกับความเชื่อท้องถิ่น โดยปลูกฝังความเชื่อมาช้านานว่า ป่าดอนปู่ตาเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดบุกรุกหรือเข้าไปตัดไม้ แม้จะเป็นไม้เล็กๆ เพื่อใช้ทำฟืน ผู้นั้นจะมีอันตราย ทำให้ชุมชนบ้านท่าเรือสามารถรักษาสภาพของป่าดอนปู่ตามาได้จนถึงปัจจุบัน
4. ความรู้
มีการจัดทำเวทีประชาคม รวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านทำแผนชุมชน ซึ่งสะท้อนถึงการใช้ข้อมูลและความรู้ในการวางแผนพัฒนาชุมชน และใช้ข้อมูล จปฐ./กชช. 2 ค มีการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาปฏิบัติ มีการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนำมาเป็นจุดแข็งในการพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งสนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ชาวบ้าน เพื่อเพิ่มทักษะและรายได้เสริมให้กับครอบครัว
5. คุณธรรม
ส่งเสริมกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การปฏิบัติศาสนกิจ งานบุญประเพณี กิจกรรม ลด ละ เลิก อบายมุข การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีในโรงเรียน และการยกย่องผู้สูงอายุที่มีคุณธรรมเป็นบุคคลตัวอย่างในชุมชน นอกจากนี้ มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และแก้ไขข้อบกพร่องอย่างสม่ำเสมอ
วัดแห่งแรกที่ชาวบ้านท่าเรือร่วมแรงร่วมใจสร้างขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวบ้านหลังการก่อตั้งหมู่บ้าน วัดแห่งนี้เป็นสถานที่จัดแสดงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ และเป็นแหล่งถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบสานต่อ ซึ่งนอกจากโบสถ์ ศาลาการเปรียญ ที่ใช้ทำกิจของสงฆ์และงานบุญต่างๆ แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของศูนย์หัตถกรรมผ้าไหมบ้านท่าเรือ ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการมัดลาย ย้อมสี และการทอผ้าที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ให้ลูกหลานในชุมชนได้สืบทอด
แหล่งน้ำที่เป็นสัญลักษณ์ของบ้านท่าเรือ มีพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 50 ไร่ ช่วยให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดปี แม้แทบทุกครัวเรือนจะยึดอาชีพการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แต่ชาวบ้านยังคงวิถีชีวิตเกษตรกรรม ปลูกผัก ทำนา เลี้ยงสัตว์ ตามวิถีเกษตรกรทั่วไป หลังจากเสร็จสิ้นฤดูทำนา ในเดือนธันวาคมของทุกปี ชาวบ้านจะเริ่มปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่รอบๆ หนองเรือ ตามที่ได้รับการจัดสรรจากคณะกรรมการหมู่บ้าน
บ้านท่าเรือเป็นแหล่งผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยชาวบ้านใช้ป่าชุมชนเป็นพื้นที่ปลูกไผ่แคนหรือไผ่เล็กสำหรับทำเครื่องดนตรี โดยนำพันธุ์ไผ่แคนมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทำให้บ้านท่าเรือมีวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอย่างเพียงพอ
หลายคุ้มในบ้านท่าเรือมีจุดสาธิตการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านให้ผู้มาเยือนแวะเข้าชมได้ตามความสนใจ เช่น คุ้มวังแคนเป็นจุดสาธิตการทำแคน พิณ โหวด รวมถึงสถานที่จำหน่ายเครื่องดนตรีพื้นบ้านและของที่ระลึก นอกจากนี้ ชาวบ้านท่าเรือยังยินดีถ่ายทอดภูมิปัญญาดนตรีพื้นบ้านให้กับผู้มาเยือนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นลายเพลงการเป่าแคน ดีดพิณ ร้องหมอลำหรือเครื่องเล่นดนตรีพื้นบ้านอื่นๆ ในชุมชนมีครูพร้อมจะให้ทั้งความรู้และความสนุกสนานสับเปลี่ยนกันมาสอนตามวันเวลาที่นัดหมาย
เมื่อปี 2520 ชาวบ้านท่าเรือได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมศิลปาชีพบ้านท่าเรือ โดยเป็นศูนย์ศิลปาชีพแห่งแรกของประเทศ ในโครงการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการทอผ้าไหมมาอย่างต่อเนื่อง ผ้าไหมบ้านท่าเรือจึงเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีความละเอียด ลวดลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นสวยงาม เช่น ลายนาคน้อย ลายตาหมากนัด (ลายสับปะรด) ลายกุญแจน้อย ลายตุ้ม ลายขอ และมีคุณภาพระดับโอทอป 5 ดาว
• ปี 2546 รางวัลชมเชยการประกวดผ้ามุกฝ้าย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
• ปี 2549 รางวัลการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน
โอทอปเพื่อการท่องเที่ยวระดับจังหวัด จากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
• ปี 2552 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ครั้งที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
• ปี 2553 รางวัลมาตรฐานสินค้าโอทอป 5 ดาว ประเภทผ้ามัดหมี่ จากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit

- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit

- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit
- Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit